กว่าจะมาเป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor, Financial Planner, Welath Planner) ของโลก
ที่ปรึกษาทางการเงิน เริ่มต้นมาจากนักขายประกันชีวิตในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในอดีตก่อนปี 1969 (พ.ศ. 2512) ได้ขายประกันชีวิตโดยเน้นที่แบบประกัน (Product Oriented) และมีนักขายกลุ่มหนึ่งที่มีความรู้ด้านการเงินได้ประยุกต์ความรู้ด้านการเงินองค์กร(Corporate Finance) มาประยุกต์ใช้กับการเงินส่วนบุคคล(Personal Finance) จนเกิดรูปแบบการขายแบบตามความจำเป็นของลูกค้า(Financial Needs Analysis) เช่น ความต้องการในการคุ้มครองรายได้(Income Protection Plan) ความต้องการในการวางแผนเกษียณอายุ (Retirement Plan) ความต้องการในการวางแผนการศึกษาบุตร (Education Plan) และโครงการคุ้มครองสุขภาพและอุบัติเหตุ (Accident & Health Protection) ซึ่งถือได้ว่าเป้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมประกันชีวิตในสหรัฐอเมริกา จนเกิดอาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน เกิดขึ้นและได้ก่อนตั้งสมาคม International Associations of Financial Planners ปี 1970 ในชิคาโก หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น Inernational Association of Financial Planning (IAFP) และในปี 1971 ได้ก่อตั้งคณะที่ปรึกษาทางการเงิน Certified Financial Planner (CFP) ขึ้น
อาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ได้กลายเป็นอาชีพที่คนอเมริกาให้การยอมรับ และเป็นอาชีพที่อยู่ในระดับต้นๆ ที่คนอเมริกาอยากทำงานนี้ คนส่วนใหญ่ในอาชีพนี้จะมาจาก เจ้าหน้าที่หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ นักขายประกันชีวิต พนักงานบัญชี ทนายความ พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน ผู้ตรวจสอบบัญชี ต่างหันเหอาชีพมาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
สิ่งที่ทำให้คนเหล่านี้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน นอกจากผลตอบแทนแล้ว สิ่งที่พวกเขารู้สึกดีคือ กระบวนการทำงานแบบที่ปรึกษา คือ
- ค้นหาความจำเป็นทางด้านการเงินของลูกค้าโดยใช้ Financial Need Analysis
- ช่วยค้นหาเป็นหมายทางการเงินของลูกค้า (Financial Goals) และวางแผนให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ (Action Plan)
- ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Centric) และสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว (Long Term Relationship)
- เป็นการเพิ่มคุณภาพการบริการแบบ win-win approach
คนอเมริกันส่วนใหญ่มักจะทำธุรกรรมด้านการเงิน โดยปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยหัวใจแห่งความสำเร็จในธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินนี้เกิดจาก การวางแผนการเงินที่ครอบคลุมความจำเป็นทางด้านการเงินทุกด้านทั้งในส่วนการสร้างความมั่งคั่ง (Wealth Creation) การปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection) การเพิ่มพูนความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation) และการส่งมอบความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) หลังจากนั้นอาชีพที่ปรึกษาทางการเงินได้แพร่ไปสู่หลายๆ ประเทศทั่วโลก ทั้งในยุโรป ออสเตรเลีย เอชีย สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ก่อนเข้าสู่ประเทศไทย
ที่ปรึกษาทางการเงินกับประเทศไทย
กรมการประกันภัยในอดีตอยู่ภายใต้สังกัด กระทรวงพาณิชย์ แต่ในส่วนตลาดทุนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของหลายหน่วยงานภายใต้สังกัด กระทรวงการคลัง จึงทำให้การประสานงานในทิศทาง นโยบายต่างๆ อาจจะไม่คล่องตัวนัก สถาบันการเงินแต่ละประเภทก็ทำเฉพาะธุรกรรมหลักของตน เช่น ธนาคาร ทำหน้าที่รับฝาก-ถอนเงิน ปล่อยกู้ บริษัทหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ส่วนบริษัทประกันชีวิต ตัวแทนประกันประกันชีวิตก็ขายเฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตเท่านั้น จึงทำให้ขาดการบริการแบบเบ็ดเสร็จ One Stop Service อันเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
หลังจากนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมตลาดทุนให้เติบโตและมีการพัฒนาที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการระดมทุนและการลงทุน ทั้งตลาดแรก (Primary Market) และ ตลาดรอง (Secondary Market) รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยให้ธุรกรรมในตลาดทุนมีกฏหมายแม่บทรองรับ เอื้ออำนวยต่อการออกตราสารทางการเงินใหม่ๆ และมีบทบัญญัติที่ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบที่ชัดเจน จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัยพ์ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์) โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2535 และมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนโดยมีคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดโนยบายในการดำเนินงาน
ในส่วนกรมการประกันภัย ในปี 2550 ได้เปลี่ยนสถานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้ชื่อ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ซึ่งจะมีคณะกรรมการบางส่วนที่มีความรู้เรื่องตลาดทุนเป็นกรรมการอยู่ จึงทำให้เกิดการประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ต่อมา หลายๆองค์กรธุรกิจได้มีการทำธุรกรรมในรูปแบบเบ็ดเสร็จ One Stop Service คือ ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้หลายประเภทในแห่งเดี่ยว ที่เห็นชัดเจนอย่ายิ่ง คือ ธนาคาร นอกจากจะรับฝาก-ถอนเงินแล้ว ยังมีกองทุนรวม ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย จำหน่ายให้กับลูกค้าอีกด้วย
ในส่วนตัวแทนประกันชีวิตที่มีใบอนุญาตติดต่อกับผู้ลงทุน (Single License) ในอดีตยังไม่สามารถขายหน่วยลงทุนหรือกองทุนรวมได้ เนื่องจากผู้ขายต้องเป็นพนักงานประจำเท่านั้น ในปี 2548 ทางสำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้ตัวแทนอิสระขายหน่วยลงทุนได้ จึงทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาของตัวแทนประกันชีวิต สู่ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (Thai Financial Advisors Association)
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมีสมาชิกผู้รวมก่อตั้งทั้งในส่วนของบุคคลและนิติบุคคลซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมจำนวน 39 ราย
สมาคมฯ มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมวิชาชีพนักวางแผนการเงินให้เป็นที่รู้จักอย่างแพรหลายในประเทศไทย โดยการผลิตนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ ความสามารถ ในการให้บริการวางแผนการเงินที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
โดยทางสมาคมได้นำเข้าหลักสตร CFP เพื่ออบรมให้กับผู้สนใจประกอบวิชาชีพนักวางแผนการเงิน โดยการที่จะได้รับคุณวุฒิ CFP จะต้องเข้าอบรมและผ่านการทดสอบ ใน 6 หมวดวิชาคือ พืนฐานการวางแผนการเงิน การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันภัย การวางแผนเพื่อการเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน โดยมอบหมายให้ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ฝึกอบรม |